วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมา


หมู่บ้านช้าง จ. สุรินทร์
ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง เป็นสถานที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมวิถีความเป็นอยู่ ความผูกพัน ของคนในชุมชนและช้าง รวมทั้งประเพณี และวัฒนธรรมที่น่าชื่นชมอย่างใกล้ชิด ชาวบ้านตากลาง แต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้น ระหว่างคนกับช้าง ณ บ้านตากลาง จ. สุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก
ชาวบ้านตากลาง ดั้งเดิมเป็น ชาวส่วย (กูย) หรือ กวย ที่มีความชำนาญในการคล้องช้างป่า ฝึกหัดช้าง และเลี้ยงช้าง ส่วนมากต้องเดินทางไปคล้องช้างบริเวณชายแดนต่อเขตประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ปัจจุบันสภาวะการเมืองระหว่างประเทศทำให้ชาวบ้านตากลาง ไม่สามารถไปคล้องช้าง เช่นแต่ก่อนได้ แต่ชาวบ้านตากลางยังคงเลี้ยงช้าง และฝึกช้างเพื่อไปร่วมแสดงในงานช้างของจังหวัดทุกปี
ศาลปะกำ ที่เป็นเสมือนเทวาลัยสิงสถิตของวิญญาณบรรพบุรุษและผีปะกำ ตามความเชื่อของ ชาวกวย หรือ กูย นิยมปลูกสร้างไว้ในชุมชนคุ้มบ้าน นักท่องเที่ยวสามารถไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์จาก ศาลปะกำ กันได้ ซึ่งเชื่อกันว่า ขอสิ่งได้ ได้สมปรารถนาดั่งที่ตั้งใจไว้
วังทะลุ ห่างจากหมู่บ้านช้างเพียง 3 กิโลเมตร ที่นี่เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลไหล และลำน้ำชี มาบรรจบกัน ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่จังหวัดอุบลราชธานี “วังทะลุ” เป็นสายน้ำที่แวดล้อมไปด้วยป่าที่กว้างใหญ่ไพศาล ก่อให้เกิดเป็นทัศนียภาพที่งดงามซึ่งหาชมได้ยาก ยังมีความอุดมบูรณ์ทางธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังเป็นที่อาบน้ำของช้างในหมู่บ้านยามเย็น
อาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่แสดงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับช้าง อาทิ วิวัฒนาการของช้าง ช้างในยุคต่างๆ โครงกระดูกช้าง โรคที่เกี่ยวข้องกับช้าง เครื่องมือในการคล้องช้าง ภาพวิธีการจับช้างในรูปแบบต่างๆ ลักษณะสำคัญของช้าง อาหารและยาสมุนไพรช้าง วิถีความผูกพันระหว่างคนกับช้าง พิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับช้าง ขั้นตอนวิธีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับช้างที่เสียชีวิต วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวกวยหรือกูย เป็นต้น


การเดินทาง

การเดินทาง

การเดินทาง
เดินทางโดยรถส่วนตัว มายัง ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ ประมาณ 58 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 เส้นทางสายสุรินทร์ – ร้อยเอ็ด เลี้ยวซ้ายเมื่อถึง กม. 36 เข้าปากทางบ้านกระโพ ลึกเข้าไปตามถนนลาดยางบนที่ราบใกล้แม่น้ำมูล และลำห้วยน้ำชี ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร
รถประจำทาง นั่งรถประจำทางสายสุรินทร์-กระโพ รถจอดอยู่ที่ บขส.สุรินทร์ จากอำเภอเมืองสุรินทร์ไปตามถนนสายสุรินทร์ไป อ. ท่าตูม ระยะทาง 30 กม. ถึงบ้านหนองตาด เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายหนองตาด - เมืองลีงระยะทางประมาณ 25กม.ถึงบ้านหนองบัว สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่ง จ.สุรินทร์ รถประจำทางสายสุรินทร์ – กระโพ รถออกทุกชั่วโมง เที่ยวแรกเริ่ม 06.30 เที่ยวสุดท้าย 17.30 น. อัตราค่าโดยสารคนละ 30 บาท
ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จากกรุงเทพใช้เส้นทาง กรุงเทพ- สระบุรีนครราชสีมา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพแล้วแยกเลี้ยวขวาเข้าทางหมายเลข 206 เส้นทาง ไป อำเภอพิมายแยกซ้ายเข้าทางหมายเลข 2175 ไปชุมพวงผ่านอำเภอแคนดง-สตึก-ชุมพลบุรี
จากชุมพลบุรี ตรงไปยัง อำเภอท่าตูม ทางหมายเลข 2018 ประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางเลี้ยวขวาลัดไปยังหมู่บ้านช้างบริเวณบ้านกระสัง ไปบ้านยางบภิรมย์ แล้วตรงไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง เส้นทางสะดวกเป็นถนนทางลาดยางตลอดสาย และยังมีป้ายบอกตลอดการเดินทาง




ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ผู้จัดการศูนย์คชศึกษา หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม โทร.(01) 966-5285 หรือที่กำนัน ตำบลกระโพ อ.ท่าตูม โทร. (044) 512-925 , (01) 966-3845หรือผู้ใหญ่บ้านตากลาง โทร. (01) 977-4420 (วัฒนา 18/06/40)

การแสดงช้าง

การแสดงช้าง
การแสดงช้าง ศูนย์คชศึกษาสุรินทร์




สำหรับการตั้งราคาเพื่อนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมการแสดงช้างของหมู่บ้านตากลาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่นิยมเสียค่าใช้จ่ายสูงนอกจากนั้นยังสอดคล้องกับกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีรายได้ลดลงเพราะเศรษฐกิจไม่คงที่จึงมีการดำเนินการควบคุมการตั้งราคาสำหรับค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พัก ร้านอาหารของหมู่บ้านตากลางด้วยราคาที่ไม่สูงอยู่ในระดับถูก-ปานกลาง 
การแสดงช้างที่ ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จ.สุรินทร์ มีทุกวัน วันละ 2 รอบ
รอบเช้า เวลา 10.00น.
รอบบ่าย เวลา 14.00น.
ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ คนละ 50 บาท
เด็กโต คนละ 20 บาท
เด็กเล็ก คนละ 10 บาท
ชาวต่างชาติ คนละ 100 บาท


กิจกรรม

กิจกรรม 12 เดือน 


เดือนมกราคม คชาสารงานซิฟ


-ร่วมกับเยาวชนกูยอาเจียงมัคคุเทศน้อยสัมผัสกับนักแสดงนานาชาติที่หมู่บ้านช้าง นักแสดงกว่า 200คน จาก 23 ประเทศเข้าร่วมการแสดง 
-ศิลปวัฒนธรรมการแสดงก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น ท่ารำ ภาษา การแต่งกาย การทักทาย จะสื่อออกมาให้ เห็นถึงประเพณีของแต่ละประเทศ
 เดือนกุมภาพันธ์ ไอยราพาคู่

 - ขบวนแห่ขันหมากช้าง
 - ชมพิธีแต่งงานพื้นบ้านชาวกูย (พิธีซัตเต)
- กิจกรรมการจดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง
เดือนมีนาคม เอราวัณวันช้างไทย

- กิจกรรมขบวนแห่เกียรติยศช้างไทย ประดับไฟสวยงาม
- กิจกรรมตักบาตรบนหลังช้าง
- นั่งช้างชมบ้าน ประกวดผลิตภัณฑ์จากช้างOTOP
นุ่งผ้าไหมใส่ปะเกือมเรือมกันตรึม
- ประกวดขบวนแห่ทางวัฒนธรรม
- การฝึกสอน การสาธิตการทอผ้าไหมและการสาธิตการทาปะเกือม
- การแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าไหมและใส่ปะเกือม
- การประกวดธิดาปะเกือม
- การจ่ายหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์/ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น (OTOP)
เดือนเมษายน คชาธารสงกรานต์สุข

- แต่งกายด้วยผ้าไทยไปทำบุญตักบาตร
- รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ปล่อยนก ปล่อยปลา และทำบุญเมือง
- จัดช้างมาเล่นน้ำกับนักท่องเที่ยวที่บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง
- ประกวดนางสงกรานต์
หัสดินภักดี ร่วม บูชา
- กิจกรรมนำช้างมาแสดงสักการะที่อนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์
เดือนพฤษภาคม คชาพรรษาสุข

- พิธีโกนผมนาค / พิธีสู่ขวัญนาค / เรียกขวัญนาค
 - ชมขบวนแห่นาคด้วยช้างไปที่วังทะลุ บริเวณลานน้าชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ามูล
- พิธีบรรพชาอุปสมบทหมู่
 เดือนมิถุนายน กุญชรถอนกล้า พาดำนา โดยกูยอาเจียง

-พิธีเปิดงาน โดยใช้ช้างลงดำนา
-การแข่งขันดำนา (โดยนักท่องเที่ยว)
เดือนกรกฎาคม แห่เทียนพรรษา ไอยราเทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน

-ขบวนแห่ช้างประดับไฟสวยงาม
- การตักบาตรบนหลังช้าง
- การสาธิตการจัดโต๊ะหมู่บูชา
- โรงทานมหากุศล
- ประกวดขบวนแห่เทียนพรรษา
เดือนสิงหาคม วิถีไทยเทิดไท้องค์ราชินี

-ร่วมขบวนปั่นจักยานเพื่อแม่ โดยมีช้างแสนรู้นำขบวน
-แข่งขันปั่นจักรยาน
-ประกวดวาดภาพครอบครัวแสนสุข
เดือนกันยายน ไอยราพาชมวิถีชุมชนชาวกูยสุรินทร์

- พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษและผีปะกำ
พิธีกรรมรำแม่มด
- การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน
- การประกวดการแต่งกายของชาวกูย
- ร่วมฝีกหัดการแซวเสื้อของชาวกูย
เดือนตุลาคม เมืองสวย น้ำใส ใส่ใจชุมชน คนกูยอาเจียง

- กิจกรรมล่องเรือตามลำน้ำที่แม่น้ำลำชี-แม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกัน เพื่อศึกษาธรรมชาติ
 - กิจกรรมแข่งขันกีฬาเรือพาย
- กิจกรรมกีฬาสีช้าง
เดือนพฤศจิกายน

ประเพณีลองกระทง- การประกวดกระทงใหญ่การประกวดนางนพมาศร่วมลอยกระทงกับช้าง
คชสารงานแห่กฐินตักบาตรบนหลังช้างช้างแห่ขบวนกฐิน
หัตถีสวัสดี - ขบวนแห่ต้อนรับช้างเข้าเมือง  - การประกวดรถอาหารเลี้ยงช้างพิธีบวงสรวงพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง- ร่วมเลี้ยงอาหารช้างใหญ่ที่สุดในโลก 288 เชือกน้ำหนักกว่า 60 ตัน ความยาวกว่า 400 เมตรพร้อมร่วมเป็นสักขีพยานในการบันทึกสถิติโลก- การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเมืองสุรินทร์
เดือนธันวาคม

งานเทศกาลปลาไหล  ข้าวใหม่หอมมะลิและงานกาชาดประจำปีธันวาคม
- การประกวดขบวนแห่, การแสดงบันเทิงต่างๆ
- การประกวดเทพีประจำขบวนแห่
- การประกวดผ้าไหมชั้นดี (9 ประเภท)
- การประกวดข้าวหอมมะลิ
- การประกวดจัดสารับอาหาร
- การแข่งขันตาข้าวแบบโบราณ
- การแข่งขันหุงข้าวแบบโบราณ
- การแข่งขันจับปลาไหล
 - การจัดแสดงนิทรรศการของดีเมืองชุมพลบุรี
พลายบูชา 5ธันวาพาชิม
-แข่งขันทำอาหารพื้นบ้านของชาวกูยอาเจียง
-แข่นกินวิบาก
- จุดเทียนชัย ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
- ชมการแสดงละครของชาวกุยในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ